ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก (Hydraulic Power Steering) VS ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้า EPS (Electric Power Steering)

ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก (Hydraulic Power Steering) VS ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้า EPS (Electric Power Steering)



         อย่างที่เรารู้ๆกันครับว่าระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ ในรถยนต์ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก (Hydraulic Power Steering) และระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้า EPS (Electric Power Steering) แต่ว่าส่วนใหญ่ที่เราจะได้ยินแล้วก็รู้จักมักจะเป็นตัวระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก (Hydraulic Power Steering) วันนี้ผม “ช่างเค” เลยจะพาเพื่อนๆมารู้จักกับเจ้าระบบ EPS กันให้มากขึ้นหน่อยครับว่ามันคืออะไร และ 2 อย่างนี้จะต่างกันมากน้อยขนาดไหน 
          ระบบ EPS ในรถยนต์โตโยต้า คือ??ระบบ EPS ที่อยู่ในรถยนต์โตโยต้าก็คือ ระบบบังคับเลี้ยวที่มีมอเตอร์เป็นตัวช่วยผ่อนแรงในการหมุนพวงมาลัยรถยนต์ โดยทำงานด้วยพลังงานไฟฟ้านั่นเองครับ                รถยนต์โตโยต้า โดยทั่วไปจะมีระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ (Power steering system) คือ ระบบที่ช่วยผ่อนแรงและกำลังในการหมุนพวงมาลัยให้เบาลง เพื่อประโยชน์ในการหักเลี้ยวในพื้นที่ที่มีจำกัดเช่น การเลี้ยวเพื่อเข้าจอด และความสะดวกสบายในการขับขี่ ซึ่งระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก (Hydraulic Power Steering) และระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้า EPS (Electric Power Steering)

ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก (Hydraulic Power Steering)

            ระบบนี้จะใช้ปั๊มไฮดรอลิกเป็นตัวสร้างแรงดันให้น้ำมันไฮดรอลิกส่งไปยังกระปุกพวงมาลัย หรือ แร็กพวงมาลัย เพื่อช่วยผ่อนแรงในการหักเลี้ยวรถหรือหมุนพวงมาลัย โดยที่ปั๊มไฮดรอลิกจะทำงานเมื่อเครื่องยนต์ทำงาน และส่งกำลังผ่านสายพานมาขับปั๊มไฮดรอลิก

ข้อดีของระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก                   

 จะช่วยผ่อนแรงได้ดี รู้สึกมั่นใจในยามเข้าโค้ง
ข้อเสียของระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก                      เนื่องด้วยระบบใช้น้ำมันในการถ่ายทอดกำลัง ดังนั้นเมื่อซีลท่อทางชำรุดย่อมเกิดการรั่วซึม

ข้อควรระวังของระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก

อย่าหมุนพวงมาลัยจนสุดค้างไว้นาน ๆ เนื่องจากจะทำให้น้ำมันเพาเวอร์มีความร้อนและแรงดันสูง จนทำให้ระบบของพวงมาลัยรถเกิดความเสียหายได้ครับ

ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้า EPS (Electric Power Steering)

           ระบบนี้จะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวสร้างกำลัง ช่วยผ่อนแรงในการทำงานของระบบรถยนต์ เมื่อผู้ขับขี่หมุนพวงมาลัย เซ็นเซอร์ที่ติดตั้งอยู่ที่แกนหมุนของพวงมาลัยรถจะตรวจจับ และส่งค่าที่ได้ไปยังกล่องควบคุมเพื่อสั่งการให้มอเตอร์ทำงาน ช่วยในการผ่อนแรงในทิศทางซ้ายและขวา

ข้อดีระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้า EPS   

           คือการทำงานที่แม่นยำ เบาแรงเมื่อขับขี่ด้วยความเร็วต่ำ และจะรู้สึกได้ว่าพวงมาลัยหนักและแน่นขึ้นเมื่อความเร็วรถยนต์เพิ่มขึ้น การแปรผันตามความเร็วของรถยนต์ในการช่วยผ่อนแรง และควบคุมรถเป็นการสร้างความมั่นใจในการควบคุมรถได้ดี 
            ในส่วนของเรื่องกลไกชิ้นส่วนระบบบังคับเลี้ยว ก็เหมือนกับระบบบังคับเลี้ยวทั่วไป ที่มีแกนพวงมาลัย ยอยพวงมาลัย เฟืองสะพาน (แร็คแอนพีเนี่ยน) แต่เปลี่ยนจากปั๊มสร้างแรงดันไฮดรอลิกมาเป็นตัวมอเตอร์ไฟฟ้าที่ช่วยทำหน้าที่ในการผ่อนแรง ซึ่งก็ทำให้โหลดหรือภาระของเครื่องยนต์ลงลด เพราะไม่ต้องหมุนเพื่อขับปั๊มไฮดรอ และ ข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือตัดปัญหาการรั่วซึมในระบบ เพราะไม่มีการใช้น้ำมันในระบบอีก

เทคนิคที่ควรรู้ เกี่ยวกับ ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์

- หากระบบเกิดการบกพร่องในรถที่ใช้พวงมาลัยไฟฟ้า ให้สังเกตไฟเตือนรูปพวงมาลัยบนหน้าปัดหรือในรถบางรุ่นจะมีสัญลักษณ์  P/S ก็ให้รีบนำรถเข้าตรวจสอบโดยช่างผู้ชำนาญ ที่ศูนย์บริการโตโยต้า เค.มอเตอร์ส ได้ทั้ง 17 สาขา
- เมื่อรู้สึกว่าพวงมาลัยรถยนต์มีอาการหนักและไม่ผ่อนแรง ให้ตรวจสอบขั้วแบตเตอรี่ (หลวมคลอนหรือไม่) แรงดันแบตเตอรี่ต่ำหรือไม่ (แบตเตอรี่เริ่มเสื่อม) ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้พวงมาลัยหนักขึ้นได้เช่นกันครับ
- หากมีอาการพวงมาลัยรถยนต์มีอาการดึงหรือไม่ตรง ให้ตรวจเช็คแรงดันลมยางรถยนต์ว่าต่ำกว่ามาตรฐานหรือไม่ หรือเช็คสภาพศูนย์ล้อ
- อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนในระบบบังคับเลี้ยวของรถ อาทิ ลูกหมากชำรุดเสียหายหรือสึกหรอ ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้พวงมาลัยหนักขึ้นได้เช่นกัน
ที่มา : http://www.kmotors.co.th/talk-with-guru/hydraulicpowersteering-vs-electricpowersteering-toyota/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบบังคับเลี้ยว (Steering Systems)

ระบบรองรับน้ำหนัก

ระบบเฟือง