ระบบรองรับน้ำหนัก

ระบบรองรับน้ำหนัก

          คุณลักษณะสำคัญของการปรับปรุงระบบรองรับน้ำหนักรถนั่ง

                       ระบบรองรับน้ำหนักทั้งด้านหน้าและหลังจะเป็นระบบรองรับน้ำหนักแบบมัลติลิงก์ที่มีการออกแบบใหม่ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งระบบบังคับเลี้ยวและเสถียรภาพในการขับขี่

          คุณลักษณะระบบรองรับน้ำหนักด้านหน้า                    ระบบรองรับสามารถแบ่งออกอย่างกว้าง ๆ ได้ 2 แบบ ตามลักษณะของโครงสร้าระบบรองรับแบบคานแข็ง  ระบบรองรับแบบอิสระซึ่งล้อด้านซ้ายและด้านขวาเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระของแต่ละด้า

  ระบบรองรับแบบคานแข็ง

                    ในรถยนต์ที่ใช้ระบบรองรับคานแข็ง ล้อด้านซ้ายและด้านขวาต่อกันอยู่ด้วยเพลาอันเดียว ซึ่งมันติดอยู่กับตัวถังและโครงรถด้วยสปริง (แหนบหรือคอยส์สปริง) เนื่องจากเป็นระบบที่มีความแข็งแรง
มากและมีโครงสร้างแบบง่าย ๆ ระบบรองรับแบบคานแข็งจึงใช้กันอย่างกว้างขวางที่ล้อด้านหน้าและด้านหลังของรถโดยสารและรถบรรทุก และกับล้อหลังของรถยนต์นั่ง 
                     

ระบบรองรับแบบอิสร

          ในรถยนต์ที่ใช้ระบบรองรับอิสระ ล้อด้านขวาและด้านซ้ายจะไม่ต่อกันโดยตรงโดยเพลาระบบ
รองรับจะติดอยู่กับตัวถังและโครงรถในลักษณะที่ล้อทั้งสองสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระไม่ขึ้นต่อกัน 
ระบบรองรับแบบอิสระไม่นิยมใชักับรถยนต์นั่งหรือรถบรรทุกขนาดเล็ก ในขณะเดียวกันก็มีใช้กับล้อหลังของรถยนต์นั่งเป็นจำนวนมาก ระบบรองรับแบบอิสระนี้ จะมีส่วนประกอบซับซ้อนกว่าระบบรองรับแบบคานแข็ง จะทำให้ความนิ่มนวลในการขับขี่มากกว่า แต่จะด้อยกว่าในเรื่องของการทรงตัว 
           
          โดยทั่วไปมี 2 แบบ คือ แบบแมคเฟอร์สันสตรัท และแบบปีกนกคู่แบบแมคเฟอร์สันสตรัท   ระบบรองรับแบบแมคเฟอร์สันสตรัทนี้ใช้กันอย่างกว้างขวางเป็นส่วนมาก สำหรับระบบรองรับหน้าของรถยนต์ขนาดเล็กและขนาดกลางระบบรองรับแบบแมคเฟอร์สันสตรัท ประกอบไปด้วย ปีกนกล่าง เหล็กหนวดกุ้ง เหล็กกันโคลง และชุดสตรัท ด้านหนึ่งของปีกนกล่างติดอยู่กับคานหน้าด้วยบูชยางและสามารถเคลื่อนได้อิสระขึ้นและลงปลายอีกด้านหนึ่งยึดกับแกนบังคับเลี้ยวด้วยลูกหมาก


ปีกนกล่างรูปตัวแอลของแบบแมคฟอร์สันสตรัท

         ปีกนกล่างมีอยู่หลายแบบที่สร้างมาเพื่อใช้ยึดล้อ และตัวถังรถยนต์ ในรถยนต์ที่เครื่องอยู่หน้า ขับล้อหน้าบางรุ่นจะใช้ปีกนกล่างรูปตัวแอล ปีกนกล่างรูปตัวแอลนี้ติดตั้งอยู่ กับตัวถังสองจุดพร้อมบู๊ชยางและอีกด้านหนึ่งติดอยู่กับแกนบังคับเลี้ยวด้วยลูกหมาก
         ปีกนกแบบนี้สามารถต้านได้ทั้งแรงด้านข้าง และแรงตามแนว ยาว ดังนั้นมันจึงไม่จำเป็นต้องใช้เหล็กหนวดกุ้

แบบปีกนกคู่พร้อมคอยล์สปริง     

        ระบบนี้มีใช้กันอย่างกว้างขวางกับระบบรองรับหน้าของรถยนต์นั่งและรถบรรทุกเล็กช้อคแอบชอร์บเบอร์ และคอยล์วปริงติดตั้งอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมของปีกนกทั้งสอง ด้านหนึ่งของปีกนกทั้งคู่ติดอยู่กับตัวถัง หรือโครงรถด้วยบู๊ชยาง และปลายอีกด้านหนึ่งติดอยู่กับแกนบังคับเลี้ยวด้วยลูกหมากปลายด้านบนของช้อคแอบชอร์บเบอร์ติดอยู่กับตังถัง หรือแน่นอยู่ระหว่างปีกนกตัวล่าง และตัวถัง หรือโครงรถ 
      สำหรับรถบรรทุกเล็กส่วนมากจะไม่ใช้คอยล์สปริงแต่จะใช้แท่งทอร์ชั่นบาร์ติดอยู่กับปีกนกบน หรือปีกนกล่างแทนด้านหน้าของแท่งทอร์ชั่นบาร์จะเสียบอยู่ที่แขนแรงบิดของปีกนกบน และด้านหลังของทอร์ชั่นบาร์ติดอยู่ภายในแขนติดตั้งซึ่งอยู่ที่คานขวางด้วยโบลท์ปรับแขนติดตั้ง เราสามารถปรับตั้งความสูงของรถยนต์โดยใช้โบลท์นี้ร่องสไปร์ด้านหน้า และ ด้านหลังแต่ละข้างจะมียางครอบไว้เพื่อป้องกัน


ที่มา http://wiki.stjohn.ac.th/sandbox/groups/poly_motorvehicles/wiki/54c61/attachments/a865a/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C.ppt?sessionID=0f9884b5d59c51f5fb424b78688e8776bbe35525




      

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบบังคับเลี้ยว (Steering Systems)

ระบบเฟือง