ระบบบังคับเลี้ยว (Steering Systems)
ระบบบังคับเลี้ยว (Steering Systems)
เป็นระบบที่ควบคุมการเลี้ยวของรถยนต์ผ่านการบังคับจากคนขับในห้องโดยสารเพื่อให้ล้อหน้าทั้ง2ล้อเกิดการหันตามทิศทางที่ต้องการ โดยจะช่วยผ่อนแรงจากผู้บังคับผ่านการใช้ชุดเฟืองทดแรงทีี่อยู่ระหว่างแกนพวงมาลัยกับแขนส่งกำลังที่เรียกว่า "กระปุกพวงมาลัย" เมื่อออกแรงหมุนที่พวงมาลัยก็จะเกิดการส่งผ่านแรงมายังกระปุกพวงมาลัยและส่งไปที่แกนยึดกับล้อก็จะทำให้ล้อหมุนตามทิศทางที่ต้องการ
ระบบบังคับเลี้ยวแบ่งเป็น 2 แบบ
1.ระบบพวงมาลัยแบบ Steering Linkage เป็นระบบเลี้ยวที่ใช้การส่งกำลังผ่านคันชักคันส่งผ่านจุดเชื่อมต่อ และจะใช้แขนพิทแมน(ขาไก่) ซึ่งได้รับแรงบิด เปลี่ยนทิศทางมาจากกระปุกเกียร์ มาบังคับแขนพิทแมน
2.ระบบพวงมาลัยRack and Pinion จะใช้วิธี ผ่านกำลังการหมุนพวงมาลัยผ่านเฟืองขับและเฟืองสะพาน จะช่วยทดแรงมากกว่าในแบบที่หนึ่ง
ปัจจุบันเราจะเห็นรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ใช้ระบบ Rack and Pinion เป็นทีี่มาของระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ ที่ไม่ต้องออกแรงในการเลี้ยวมาก ซึ่งระบบแบบนี้ปัจจุบันใช้การทำงานต่างกัน ยกตัวอย่าง
ระบบบังคับเลีี้ยวแบบไฮโดริก
จะใช้น้ำมันเป็นตัวช่วยในการผ่อนแรง โดยใช้ชุดปั่มสร้างแรงดันให้น้ำมันไปขับเคลื่อนชุดเลี้ยว โดยใช้แรงจากรถยนต์ ข้อเสียคือ ระบบนี้ต้องดูแลรักษาไม่ให้มีการรั่วซึมหรือน้ำมันแห้งโดยหลักการทำงานคร่าวๆ ของการทำงานแบบไฮโดรริก ก็คือ เมื่อเฟืองเริ่มทำงาน เพลาจะถูกบังคับด้วยของเหลวที่ออกจากวาล์ว โดยของเหลวจะเข้าที่ด้านใดด้านหนึ่งของลูกสูบที่ติดกับ steering gear เมื่อความดันเพิ่มขึ้นภายในกระบอกสูบจะทำให้ Pitman shalft เคลื่อนที่ระบบบังคับเลี้ยวแบบมอเตอร์ไฟฟ้า
เป็นการใช้มอเตอร์บังคับโดยตรงจะช่วยประหยัดในการที่ไม่ต้องใช้ชุดปั๋ม และการบำรุงรักษาก็ไม่ต้องทำการตรวจสภาพบ่อยๆระบบบังคับเลี้ยวแบบผ่อนแรง
เราสามารถแบ่งระบบบังคับเลี้ยวได้ 2 แบบดังนี้
1.ระบบบังคับเลี้ยวแบบลูกปืนหมุนวน ซึ่งเป็นที่นิยมในรถยนต์รุ่นเก่าๆ โดยระบบนี้จะประกอบไปด้วย พวงมาลัย ,แกนพวงมาลัย ,กระปุกเกียร์พวงมาลัย ,ก้านต่อบังคับเลี้ยว(ขาไก่ คันชัก คันส่ง กล้องยา)
2.ระบบบังคับเลี้ยวแบบเฟืองขับและเฟืองสะพาน ซึ่งเป็นที่นิยมในรถยนต์ปัจจุบัน โดยระบบนี้จะประกอบไปด้วย พวงมาลัย ,แกนพวงมาลัย ,กระปุกเกียร์พวงมาลัย ,เฟืองขับ ,เฟืองสะพาน ,คันส่ง
ส่วนประกอบของพวงมาลัยเพาเวอร์ควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์
1. เซนเซอร์วัดความเร็วรถยนต์ สัญญาณบนสายมิเตอร์จะหมุนไปตามความเร็วของรถยนต์ทำให้โฟโต้คัปเปอร์ตัดต่อแสงที่ผ่านร่องของแผ่นสงสัญญาณ เมื่อแรงเคลื่อนไฟฟ้าถูกจ่ายผ่านไปยังวงจรนี้จะทำให้สัญญาณพัลส์สอดคล้องกันการตัดต่อแสงที่ผ่านโฟโต้คัปเปอร์
2. คอมพิวเตอร์พวงมาลัยเพาเวอร์ทำหน้าที่ควบคุมลิ้นโซลีนอยโดยจะส่งสัญญาณพัลส์ไปควบคุมลิ้นโซลีนอยด์ให้สอดคล้องกับสัญญาณความเร็วของรถยนต์จากเซนเซอร์ควบคุมความเร็วรถยนต์
ส่วนประกอบหลักของระบบบังคับเลี้ยว
1.แกนพวงมาลัยแกนพวงมาลัยประกอบด้วย เพลาหลักของพวงมาลัยซึ่งถ่าย ทอดการหมุนพวงมาลัยไปยังกระปุกเกียร์พวงมาลัย ปลอกแกนพวงมาลัยซึ่งเป็นที่อยู่ของเพลาหลักพวงมาลัยด้านบนของเพลาหลักพวง มาลัยทำเป็นเรียว และเป็นซี่โดยที่ตัวพวงมาลัยติดอยู่ที่จุดนี้ด้วยน็อต แกนพวงมาลัยจะมีส่วนประกอบของกลไกดูดซับเพลางานอยู่ด้วย ซึ่งจะดูดซับแรงที่กระทำอันเนื่องมาจากการชนกันต่อผู้ขับรถ แกนพวงมาลัยจะติดอยู่ที่ตัวถังพร้อมด้วยที่ยึดแกนแบบแตก แยกออก ซึ่งแกนพวงมาลัยสามารถแยกตัวออกเมื่อมีการชนเกิดขึ้น
2.กระปุกเกียร์พวงมาลัย
แบบลูกปืนหมุนวนและแบบเฟืองขับ-เฟืองสะพานเป็นที่นิยมใช้กันเป็นส่วนมาก โดยทั่วไปในรถยนต์ปัจจุบัน เฟืองที่อยู่ในชุดกระปุกเกียร์พวงมาลัยไม่ใช่ทำหน้าที่หมุนล้อหน้าเพียงอย่าง เดียว แต่ในเวลาเดียวกันมันยังกระทำการผ่อนแรงที่ใช้ในการหมุนพวงมาลัย ด้วยเฟืองทดซึ่งตามปกติจะอยู่ระหว่าง 18 และ 20 :1อัตราทดที่มากจะช่วยลดความพยายามบังคับเลี้ยว แต่มันจำเป็นที่ต้องหมุนพวงมาลัยมากรอบ เมื่อวิ่งไปรอบๆ
จัดทำโดย
แบบลูกปืนหมุนวนและแบบเฟืองขับ-เฟืองสะพานเป็นที่นิยมใช้กันเป็นส่วนมาก โดยทั่วไปในรถยนต์ปัจจุบัน เฟืองที่อยู่ในชุดกระปุกเกียร์พวงมาลัยไม่ใช่ทำหน้าที่หมุนล้อหน้าเพียงอย่าง เดียว แต่ในเวลาเดียวกันมันยังกระทำการผ่อนแรงที่ใช้ในการหมุนพวงมาลัย ด้วยเฟืองทดซึ่งตามปกติจะอยู่ระหว่าง 18 และ 20 :1อัตราทดที่มากจะช่วยลดความพยายามบังคับเลี้ยว แต่มันจำเป็นที่ต้องหมุนพวงมาลัยมากรอบ เมื่อวิ่งไปรอบๆ
จัดทำโดย
นางสาวปุญยวีย์ สุขสุสร 57109010394
นายณพณํฐ ออองทรัพย์ 58109010173
นายนิติพรหม ทิมศรี 58109010201
น่ายภิเษก ฝั้นวงศ์ 58109010215
ที่มา
http://www.techniccar.com/wp-content/uploads/2013/08/stee-011-300x180.gif
http://motorsolutionfm.com/wp-content/uploads/2014/08/3.jpg
http://www.techniccar.com/wp-content/uploads/2013/08/stee-01-300x180.gif
http://www.techniccar.com/wp-content/uploads/2013/08/stee-03.gif
http://www.techniccar.com/wp-content/uploads/2013/08/stee-05.gif
https://thaioverdrive.blogspot.com/2016/03/blog-post.html
https://youtu.be/eudfJPHf7DE?t=38
https://youtu.be/BX4y6ItzSlI
http://carmaintenence.blogspot.com/2010/09/blog-post_18.html
https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=3&cad=rja&uact=8&ved=0ahUKEwi-58e3gMPWAhVKPI8KHRFdAh4QFggxMAI&url=http%3A%2F%2Fwiki.stjohn.ac.th%2Fgroups%2Fpoly_motorvehicles%2Fwiki%2F54c61%2Fattachments%2Fa865a%2F%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%2584%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B7%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2596%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%258C.ppt&usg=AFQjCNEyykTB1FVcSIJiZ3tq2RhvMYRpQw
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น