พวงมาลัยพาวเวอร์

พวงมาลัยพาวเวอร์

     

           กำลังช่วยในระบบบังคับเลี้ยวมีชุด เพิ่มกำลังงานอยู่ตรงส่วนกลางของกลไกบังคับเลี้ยวเพื่อลดกำลังงานในการ บังคับเลี้ยว (ผู้ขับขี่ต้องการกำลังอันนี้ เพื่อไปใช้หมุนพวงมาลัย)    แรง หมุนพวงมาลัยนี้โดยปกติคือ 2-4 กก. (4.4-8.8 ปอนด์) ระบบพวงมาลัยพาวเวอร์นี้ออกแบบมาเพื่อช่วยลดแรงหมุนพวงมาลัย เมื่อรถยนต์วิ่งด้วยความเร็วต่ำ และปรับแต่งให้มีระดับที่เหมาะสมเมื่อรถวิ่งที่ความเร็วปานกลางถึงความเร็ว สูง


ระบบพวงมาลัยพาวเวอร์ แบ่งเป็น 2 แบบ

        1.แบบรวมชุด เป็นแบบที่มีลิ้นควบคุมและลูกสูบกำลังประกอบอยู่ในเสื้อเกียร์พวงมาลัย เฟืองของมันคือแบบลูกปืนหมุนวน   กลไกลของระบบพวงมาลัยพาวเวอร์แบบรวมชุดประกอบด้วยชิ้นส่วนหลักคือ ถ้วยน้ำมัน ปั๋มใบพัดซึ่งสร้างแรงดันไฮโดลิก เสื้อเกียร์เป็นที่อยู่ของลิ้นคงบคุม ลูกสูบกำลังและท่อกระปุกเกียร์ ซึงเป็นทางให้น้ำมันผ่าน

        2.เฟืองขับเฟืองสะพาน ในระบบพวงมาลัยพาวเวอร์แบบนี้ ลิ้นควบคุมจะอยู่ในเสื้อเกียร์และลูกสูบกำลังจะอยู่ภายในเสื้อสูบกำลังแยก ออกจากกันอย่างไรก็ตามแบบเฟืองขับ-เฟืองสะพานก็มีกลไกเหมือนกับแบบชุดรว

       3.ปั้มใบพัด ปั้มใบพัดซึ่งสร้างแรงดันไฮโดรลิคถ้วยน้ำมัน ติดอยู่เหนือปั้มเติมด้วยน้ำมันไฮโดรลิคด้วยจำนวนตามกำหนด และระดับน้ำมันต้องตรวจสอบเป็นประจำ สำหรับจุดประสงค์นี้ มันเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ตรวจสอบระดับน้ำมัน ควรเติมให้เต็มด้วยสภาพการตรวจสอบที่ประกอบไปด้วย อุณหภูมิของน้ำมัน การไม่มีฟอง หรือสีใสของน้ำมัน




ข้อดีของระบบบังคับเลี้ยว

การบังคับเลี้ยว 4 ล้อ ที่ความเร็วรถสูงและเลี้ยวมรามุมแคบ
1.เข้าจอดในที่แคบได้ง่าย 
2.ง่ายต่อการรักษามุมเลี้ยว 
3.ไม่เสียการทรงตัวในจณะเปลื่ยนเส้นทางขับขี่ 
4.ขับวนในอาคารจอดรถหรือเลี้ยวในมุมแคบได้5.การทรงตัวในการขับขี่ทางตรงที่ความเร็วรถสูงดีขึ้นเพราะรถเกาะถนนในรัศมีเลี้ยวโค้งดี

         โดยทั่วไปแล้วรถที่เข้าโค้งด้วยความเร็วสูงจะเกิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางของตัวถังโดยผ่านจุดศูนย์ถ่วงของรถ ขณะเดียวกันก็จะเกิดแรงสู่จุดศูนย์กลาง เพื่อต้านกับแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ที่เกิดขึ้นเมื่อเข้าโค้ง แรงสู่จุดศูนย์กลางนี้เกิดขึ้นจากมุมลื่นไถลของยาง

การบังคับเลี้ยวที่ส่งผลกระทบต่อกลไลหมุนเลี้ยว

จากการบังคับเลี้ยว 4 ล้อ เมื่อผู้ขับขี่หมุนพวงมาลัยที่จุด 

1.จะเกิดแรงสู่จุดศูนย์กลางแต่ละตำแหน่งแตกต่างกันไป และแตกต่างจากการบังคับเลี้ยว 2 ล้อ ผลกระทบจากการบังคับเลี้ยว 

2.ล้อหน้า เมื่อหมุนพวงมาลัยที่จุด 1 จะเกิดแรงหมุนเลี้ยวที่หน้ายางต่างกับการบังคับเลี้ยว 4 ล้อ ทำให้ท้ายรถปัดได้ขณะเลี้ยวโค้งด้วยความเร้วสูง รถไม่สามารถอยู่แนวเส้นรัศมีวงเลี้ยวที่ดี

การทำงานของวงจรน้ำมันเพาเวอร์

          ตำแหน่งยังไม่ทำงาน 
1.กระบอกพวงมาลัยยึดอยู่ระหว่างจุดหมุนเทรลลิ่งอาร์มหลัง
2. ความดันน้ำมันควบคุมด้วยวาล์วควบคุมกระบอกพวงมาลัย มุมบังคับเลี้ยวล้อหลังเป็นสัดส่วนที่เหมาะกับการบังคับเลี้ยวล้อหน้า
3. จากการที่ปั๊มน้ำมันเพาเวอร์ควบคุมล้อหลังขับโดยชุดเฟืองท้าย จึงทำให้ความดันน้ำมันเหมาะสมกับความเร็วของรถ
4. โดยโครงสร้างของระบบจะทำให้เกิดทิศทางเลี้ยวของล้อหลังไปในทิศทางเดียวกับล้อหน้าเลี้ยวที่ความเร้วปานกลางหรือสูง

ที่มา http://wiki.stjohn.ac.th/sandbox/groups/poly_motorvehicles/wiki/54c61/attachments/a865a/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C.ppt?sessionID=0f9884b5d59c51f5fb424b78688e8776bbe35525

  



                   



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบบังคับเลี้ยว (Steering Systems)

ระบบรองรับน้ำหนัก

ระบบเฟือง