บทความ

ระบบบังคับเลี้ยว

ระบบบังคับเลี้ยว (Steering Systems)

รูปภาพ
ระบบบังคับเลี้ยว (Steering Systems)                 เป็นระบบที่ควบคุมการเลี้ยวของรถยนต์ผ่านการบังคับจากคนขับในห้องโดยสารเพื่อให้ล้อหน้าทั้ง2ล้อเกิดการหันตามทิศทางที่ต้องการ โดยจะช่วยผ่อนแรงจากผู้บังคับผ่านการใช้ชุดเฟืองทดแรงทีี่อยู่ระหว่างแกนพวงมาลัยกับแขนส่งกำลังที่เรียกว่า "กระปุกพวงมาลัย" เมื่อออกแรงหมุนที่พวงมาลัยก็จะเกิดการส่งผ่านแรงมายังกระปุกพวงมาลัยและส่งไปที่แกนยึดกับล้อก็จะทำให้ล้อหมุนตามทิศทางที่ต้องการ ระบบบังคับเลี้ยวแบ่งเป็น 2 แบบ             1. ระบบพวงมาลัยแบบ Steering Linkage เป็นระบบเลี้ยวที่ใช้การ ส่งกำลังผ่านคันชักคันส่งผ่านจุดเชื่อมต่อ และจะใช้แขนพิทแมน(ขาไก่) ซึ่งได้รับแรงบิด เปลี่ยนทิศทางมาจากกระปุกเกียร์ มาบังคับแขนพิทแมน             2.ระบบพวงมาลัย Rack and Pinion จะใช้วิธี ผ่านกำลังการหมุนพวงมาลัยผ่านเฟืองขับและเฟืองสะพาน จะช่วยทดแรงมากกว่าในแบบที่หนึ่ ง            ปัจจุบันเราจะเห็นรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ใช้ระบบ Rack and Pinion เป็นทีี่มาของระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ ที่ไม่ต้องออกแรงในการเลี้ยวมาก ซึ่งระบบแบบนี้ปัจจุบันใช้การทำงานต่างกั

ปัญหาระบบเลี้ยงแก้ยังไง? แบบที่เจอบ่อยๆ

พวงมาลัยสั่นหรือไม่นิ่ง 1.  ระบบช่วงล่างล้อหน้าชำรุดหรือไม่ได้แนว :  ตรวจการชำรุดของระบบรับแรงสะเทือนหน้า เปลี่ยนชิ้นส่วนที่ชำรุดและตั้งศูนย์ใหม่ 2.   ยางหน้าสึก :   ตรวจและเปลี่ยนยางใหม่ตามจำเป็น 3.  ชุดการเชื่อมต่อหรือเฟืองบังคับเลี้ยวหลวมมากเกินไป :  ตรวจและปรับ หรือเปลี่ยนชิ้นส่วนที่ชำรุดใหม่ 4.  ลมยางมากหรือน้อยเกินไป :  ตรวจและเติมลมยางตามที่กำหนด ชุดเฟืองบังคับเลี้ยวมีเสียงดัง 1.  ปรับชุดเฟืองบังคับเลี้ยวไม่ถูกต้อง :  ถอดชุดเฟืองบังคับเลี้ยวแล้วปรับ 2.  ตลับลูกปืนแกนพวงมาลัยสึกหรือหลวม :  เปลี่ยนตลับลูกปืนตามจำเป็น 3.  บู๊ชคันชักคันส่งสึก :  เปลี่ยนบู๊ชคันชักคันส่งที่สึกใหม่ 4.  การหล่อลื่นในชุดเฟืองบังคับเลี้ยวไม่เพียงพอ :  ตรวจการรั่วไหลของหล่อลื่นและซ่อมถ้าชำรุด การตรวจการรั่วไหลของน้ำมัน 1.  ใช้น้ำยาหรือน้ำมันทำความสะอาดรอบชุดเฟืองบังคับเลี้ยวเพาเวอร์และรอยต่อท่อต่างๆ ที่อาจมีการรั่วไหลแล้วติดเครื่องยนต์ 2.  หมุนพวงมาลัยไปซ้ายขวาให้สุดหลายๆ ครั้ง จากนั้นค่อยๆ หมุนให้สุดแล้วดับเครื่อง 3.  ตรวจหาการรั่วไหล ถ้าพบที่ท่อยาง ขันให้แ

How to know? น้ำมันพวงมาลัยพวงมาลัยพาวเวอร์

รูปภาพ
อะไรคือน้ำมันพวงมาลั ย?                                น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์จริง ๆ ก็คือน้ำมันชนิดเดียวกับที่ใช้ในระบบเกียร์อัตโนมัติทั่ว ๆ ไป ห้ามนำน้ำมันเบรคมาใช้  จะทำให้ระบบพวงมาลัยเสีย โดยความเป็นจริงแล้วระดับน้ำมันเพาเวอร์ของพวงมาลัยจะไม่ลดลง แต่ถ้าเมื่อใดระดับน้ำมันเพาเวอร์ลดลงก็แสดงให้เราทราบว่าในระบบพวงมาลัยเพาเวอร์มีการรั่วซึมต้องตรวจเช็คอย่างเร่งด่วน อย่ารอให้น้ำมันเพาเวอร์แห้งจนหมด ระบบคราวนี้นอกจาจะหนักแรงในการหมุนพวงมาลัยแล้วชิ้นส่วนภายในระบบเพาเวอร์อาจเกิดความเสียหายได้ง่ายนะ การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเพาเวอร์นั้นไม่ยากเกินความสามารถของทุกท่านครับแต่ก็ไม่ง่ายจนเกินไป วิธีล่ะ?                      มีวิธีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเพาเวอร์แบบยุ่งยากกับแบบไม่ยุ่งยาก แบบยุ่งยากต้องมีการถอดน็อต คลาย     แป๊ปท่อส่งน้ำมันออก ส่วนวิธีง่ายก็แค่ดึงสายยางที่ตัวกระปุกน้ำมันเพาเวอร์ออก                        วิธียากก็คือ เมื่อเรามุดลงไปดูที่ตัวแร็คแอนด์พิเนี่ยน จะเห็นท่อแป๊ปน้ำมันเข้าไปฝังอยู่บริเวณตรงกลางและด้านข้าง เครื่องมือที่ใช้ก็แค่ประแจปากตายเบอร์ 12 ตัวเดียว บวกกับฝืมือทางช่าง

Solidwork เฟืองบังคับเลี้ยว และ Hardware

รูปภาพ

ระบบเฟือง

รูปภาพ
ระบบเพือง          เฟือง (Gear)  อุตสาหกรรม ใช้สำหรับการส่งกำลังในลักษณะของแรงบิด โดยการหมุนของตัวเฟืองที่มีฟันอยู่ในแนวรัศมี เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมทุกชนิด เป็นเครื่องกลที่ทำงานโดยการหมุน ใช้ในการส่งกำลังในระยะสั้น ใช้สำหรับการส่งกำลังในลักษณะของแรงบิด (Torque)โดยการหมุนของตัวเฟืองที่มีฟันอยู่ในแนวรัศมี โดยการส่งกำลังจะสามารถเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีฟันเฟืองตั้งแต่สองตัวขึ้นไป เป็นอุปกรณ์ที่มีความแข็งแรงสูงและมีความปลอดภัย เฟือง (Gear) อุตสาหกรรม แบ่งได้ 8 ประเภท 1.เฟืองตรง (Spur Gears)   เป็นเฟืองที่มีใช้งานกันมากที่สุดในบรรดาเฟืองชนิดต่าง ๆ เป็นเฟืองที่มีฟันขนานกับแกนหมุนและใช้ในการส่งกำลังการหมุนจากเพลาหนึ่ง ไปยังอีกเพลาหนึ่ง อัตราทด (Ratio) ของเฟืองแต่ละตัว เฟืองตรงส่วนมากจะนำมาใช้ในระบบส่งกำลัง (Transmission Component) 2.เฟืองสะพาน (Rack Gears)  หน้าที่ของเฟืองสะพานคือใช้ในการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่จากการเคลื่อนที่ในลักษณะการหมุนหรือการเคลื่อนที่เชิงมุมเป็นการเคลื่อน ที่เชิงเส้นหรือการเคลื่อนที่เชิงเส้นหรือการเคลื่อนที่กลับไปกลับมา  เฟืองสะพาน (Rac

อาการที่บอกว่า พวงมาลัยรถมีปัญหา

รูปภาพ
อาการที่บอกว่า พวงมาลัยรถมีปัญหา           สำหรับอาการของพวงมาลัยเมื่อเกิดการผิดปกตินั้นก็จะเกิดอาการโดยฟ้องให้ผู้ขับขี่ได้รับทราบเพียงแต่ผู้ขับขี่อย่างเราๆนั้นจะฟังเสียงของมันหรือไม่เท่านั้นเองละครับ ซึ่งอาการผิดปกติของพวงมาลัยหลักๆนั้นก็จะมีประมาณ 4 รูปแบบใหญ่ๆ ดังนี้ครับ พวงมาลัยสั่น ซึ่งเป็นอาการที่สามารถพบเจอได้บ่อยที่สุด ซึ่งอาจจะเกินจากยางนั้นไม่มีความกลมเท่าที่ควร แต่ถ้าเริ่มสั่นที่ความเร็วใดความเร็วหนึ่งก็อาจะเกิดจากการถ่วงล้อ แต่ถ้าเกิดจากการสั่นเพิ่มตามความเร็วของรถ ก็อาจจะเกิดจากลูกปืนล้อ แต่ถึงอย่างไรก็อย่าพึ่งว่าใจโยนสาเหตไปให้เรื่องของล้อยางเพียงอย่างเดียวครับ บางครั้งโช๊คอัพมีการชำรุดเสียหายหรือยางแท่นเครื่องแท่นเกียร์ชำรุดเสียหาย ก็อาจจะทำให้พวงมาลัยสั่นได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้จากการขันน๊อตล้อหรือรูน๊อตล้อเริ่มจะไม่ดีชำรุดเสียหาย ซึ่งก็จะทำให้ล้อไม่ได้ศูนย์ และบางทีก็เป็นที่ปัญหาจากตัวล้อเองที่บิดเบี้ยวหรือล้อคตดุ้งนั่นเองละครับ ซึ่งถ้าเริ่มมีอาการแบบนี้แล้วละก็ควรจะรีบตรวจสอบอย่าปล่อยไว้นานๆ เพราะถ้าเกิดจากยางแล้ววันใดวันหนึ่งยางเกิดระเบ

ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก (Hydraulic Power Steering) VS ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้า EPS (Electric Power Steering)

รูปภาพ
ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก (Hydraulic Power Steering) VS ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้า EPS (Electric Power Steering)           อย่างที่เรารู้ๆกันครับว่าระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ ในรถยนต์ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก (Hydraulic Power Steering) และระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้า EPS (Electric Power Steering) แต่ว่าส่วนใหญ่ที่เราจะได้ยินแล้วก็รู้จักมักจะเป็นตัวระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก (Hydraulic Power Steering) วันนี้ผม “ช่างเค” เลยจะพาเพื่อนๆมารู้จักกับเจ้าระบบ EPS กันให้มากขึ้นหน่อยครับว่ามันคืออะไร และ 2 อย่างนี้จะต่างกันมากน้อยขนาดไหน            ระบบ  EPS ในรถยนต์โตโยต้า คือ?? ระบบ EPS ที่อยู่ในรถยนต์โตโยต้าก็คือ ระบบบังคับเลี้ยวที่มีมอเตอร์เป็นตัวช่วยผ่อนแรงในการหมุนพวงมาลัยรถยนต์ โดยทำงานด้วยพลังงานไฟฟ้านั่นเองครับ                 รถยนต์โตโยต้า โดยทั่วไปจะมีระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ (Power steering system) คือ ระบบที่ช่วยผ่อนแรงและกำลังในการหมุนพวงมาลัยให้เบาลง เพื่อประโยชน์ในการหักเลี้ยวในพื้นที่ที่มีจำกัดเช่น การเลี้ยวเพื่อเข้าจอด และค

พวงมาลัยเพาเวอร์ไฟฟ้า

รูปภาพ
พวงมาลัยเพาเวอร์ไฟฟ้า                                 เ ป็นการปฏิบัติระบบบังคับเลี้ยวรูปแบบใหม่ ซึ่งทางโตโยต้าพัฒนาไปอีกขั้น ปัจจุบันได้บรรจุอยู่ในรถยนต์โตโยต้าด้วยกันหลายรุ่น สำหรับในประเทศไทย ณ ปัจจุบัน ได้แก่   YARIS, VIOS, COROLLA 2008 ระบบบังคับเลี้ยวแบบนี้ จะมีการทำงานด้วยพลังงานไฟฟ้า มีการทำงานที่แม่นยำ เบาแรงเมื่อขับขี่ด้วยความเร็วต่ำ และมีความรู้สึกว่าหนักขึ้น เมื่อความเร็วรถยนต์เพิ่มขึ้น พูดอย่างเข้าใจง่ายๆว่า พวงมาลัยแปรผันตามความเร็วของรถยนต์นั่นเอง ชิ้นส่วนของระบบบังคับเลี้ยวนี้นั้น ชิ้นส่วนหลักก็คล้ายกับระบบบังคับเลี้ยวทั่วไป เพียงแต่ว่าชุดสร้างแรงดันไฮโดรลิค (ปั้มน้ำมัน) ไม่ว่าจะเป็น ตัวปั้มแรงดัน, ท่อแรงดัน, สายพาน และน้ำมันไฮโดรลิคไม่มี ทำให้ตัดภาระของเครื่องยนต์ หรือ การกินกำลังของเครื่องยนต์ได้อย่างมาก ด้านการทำงานจะมีมอเตอร์เป็นตัวทำงานโดยอาศัยพลังงานไฟฟ้า พร้อมกับเซ็นเซอร์ของการตรวจจับการเลี้ยว เพื่อให้เวลาทำการเลี้ยวนั้น จะได้สมบูรณ์และเที่ยงตรงที่สุด   สิ่งที่ได้จากระบบบังคับเลี้ยวประเภทนี้ คือ การบำรุงรักษาที่ต่ำ ไม่จำเป็นจะต้องบำรุงรักษาตามระย